วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

นิราศนริทร์คำโคลง

นิราศนริทร์คำโคลง 
นิราศนริทร์คำโคลง  เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การกล่าวคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก  ด้วยสำนวนโวหารอันไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์  นิราศนริทร์จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง

ผู้แต่ง  : นรินทรธิเบศร์ (อิน)
ลักษณะคำประพันธ์  : ร่ายสุภาพ
  จำนวน 1 บท  และโคลงสี่สุภาพ  143 บท   อ่านเพิ่มเติม

นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐

นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐
๑) เวตาล : เป็นชื่อตัวละครตัวเอกของเรื่อง นิทานเวตาลมีหลายเรื่อง
๒)  ผู้แปล : พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  (น.ม.ส.)
     พระนามเดิม พระองค์เจ้ารัชนี  แจ่มจรัส
     นามแฝง  น.ม.ส. นำมาจากพยัญชนะตัวสุดท้ายของชื่อ และนามสกุล
๓)  ลักษณะการแต่ง : ร้อยแก้วประเภทนิทาน  มีคำประพันธ์แทรกบ้างบางตอน  อ่านเพิ่มเติม

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา  ตอน  ศึกกะหมังกุหนิง
     อิเหนา  เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ  เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา  ทั้งความไพเราะ  ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน  และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราทุกอย่าง  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา  แต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง  อัธยาศัยและรสนิยมของคนไทย

ผู้แต่ง  : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ลักษณะคำประพันธ์  : กลอนบทละคร   อ่านเพิ่มเติม

คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณ                              
คำนมัสการคุณานุคุณ  ผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)  มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  บิดามารดา  และครูอาจารย์  โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ผู้แต่ง  :  พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ลักษณะคำประพันธ์ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ,กาพย์ฉบัง 16           อ่านเพิ่มเติม